Home         Book Reviews         Business Trips        Technical Visits        About Me
Wut Sookcharoen
Book Reviews by วุฒิ สุขเจริญ
 
Business Model Generation วุฒิ สุขเจริญ Title: Business Model Generation
Author: Alexader Osterwalder and Yves Pigneur
My Rating: Business Model Generation วุฒิ สุขเจริญ
 
 

Summary
         การแข่ขันในเชิงธุรกิจปัจจุบันมีความรุนแรงมากขึ้น ธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบธุรกิจ หรือหารูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อขยายตลาด สร้างการเติบโต สร้างความแตกต่าง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน หนังสือ Business Model Generation เป็นหนังสือที่นำเสนอกรอบความคิดในการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ โดยการนำเสนอการสร้างรูปแบบธุรกิจโดยอาศัย 9 Buliding Blocks ซึ่งเป็น Model หลักของหนังสือ หนังสือแบ่งเป็นตอน ๆ ได้แก่
      Canvas เป็นกรนำเสนอเครื่องมือเพื่อใช้ในการวาดกรอบแนวคิดที่เป็นรูปแบบของธุรกิจ
      Patterns เป็นการนำเสนอตัวอย่างรูปแบบธุรกิจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเกิดแนวคิดรูแบบทางธุรกิจ
      Design เป็นการนำเสนอเครื่องมือในการใช้ออกแบบรูปแบบธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ
      Strategy เป็นการมองภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสม
      Process ได้แก่กระบวนสรุปรวบรวมแนวคิดและเครื่องมือทั้งหมด และสร้างเป็นรูปแบบธุรกิจ
         สำหรับแนวคิดหลักที่จะสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอในรูปแบบ 9 Building Blocks แสดงตามภาพด้านล่าง
 
Business Model Generation วุฒิ สุขเจริญ
        โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ 
 
1. Customers การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่แล้ว ทำให้เกิดรูปแบบของธุรกิจใหม่ ๆ โดยปกติลูกค้าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่
    o ตลาดมวลชน (Mass Market) หมายถึงกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่มีขนาดใหญ่
    o ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) หมายถึงตลาดย่อย ๆ มีขนาดเล็ก ที่มีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง  
       เหมือนกันภายในกลุ่ม
    o ลูกค้าเฉพาะด้าน (Segmented) หมายถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่เฉพาะแตกต่างจากตลาดทั่วไป
       โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่าตลาดเฉพาะกลุ่ม
    o ตลาดหลากหลาย (Diversified) หมายถึงตลาดที่มีความต้องการที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไป
    o ตลาดสองด้าน (Multi-sided Platform or Multi-sided Markets) หมายถึงตลาดหรือลูกค่าตั้งแต่ 2 กลุ่มที่
       มีความสัมพันธ์กัน แต่มีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น ธุรกิจนิตยสาร มีรายได้จากลูกค้า 2 กลุ่ม ได้แก่
       ผู้ซื้อโฆษณา และผู้ซื้อนิตยสาร

2. Value Propositions ได้แก่คุณค่าของสินค้าหรือบริการที่เป็นความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่
    o สิ่งใหม่ ๆ (Newness)
    o การทำงาน (Performance)
    o รูปแบบเฉพาะตน (Customization)
    o ทำสำเร็จ (Getting the Job Done)
    o การออกแบบ (Design)
    o ตราสินค้าและสถานภาพ (Brand/Status)
    o ราคา (Price)
    o การลดค่าใช้จ่าย (Cost Reduction)
    o การลดความเสี่ยง (Risk Reduction)
    o การเข้าถึงง่าย (Accessibility)
    o ความสะดวก (Convenience/Usability)

3. Channels ได้แก่ช่องทางต่าง ๆ ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ โดยทั่วไปช่องแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ช่องทางแบบตรง (Direct Channel) หมายถึงช่องทางที่ธุรกิจได้สร้างขึ้นมาเอง เช่น ร้านค้าของตนเอง เว็บไซต์ พนักงานขาย อีกช่องทางหนึ่ง ได้แก่ ช่องทางแบบอ้อม (Indirect Channel)

4. Customer Relationships ได้แก่ การกำหนดว่าธุรกิจจะมีความเกี่ยวพันหรือมีความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างไร โดยทั่วไปการสร้างความสัมพันธ์เป็นการนำไปสู่ การได้มาซึ่งลูกค้า (Customer Acquisition) การรักษาลูกค้า (Customer Retention) และการเพิ่มยอดขาย (Boosting Sales: Cross-selling & Up-selling) ธุรกิจสามารถมีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวพันกับลูกค้าได้หลายรูปแบบ เช่น
    o การช่วยเหลือโดยบุคคล (Personal Assistance)
    o การช่วยเหลือโดยบุคลที่ได้รับมอบหมาย (Dedicated Personal Assistance)
    o การบริการตัวเอง (Self-service)
    o บริการอัตโนมัติ (Automated Services)
    o การสร้างกลุ่มสังคมของลูกค้า (Communities)
    o การร่วมสร้างสรรค์ (Co-creation)


5. Revenue Streams ได้แก่การกำหนดแหล่งที่มาของรายได้ให้ชัดเจน ว่ารายได้จากธุรกิจจะมาจากลักษณะไหนบ้าง โดยทั่วไปที่มาของรายได้สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบได้แก่ รายได้การดำเนินการ (Transaction Revenues) คือได้รายได้จากลูกค้าครั้งต่อครั้ง และรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Revenues) ได้แก่รายได้ที่เกิดจากซื้อต่อเนื่อง เช่น การซื้อที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ หรือการบริการหลังการขาย รายได้จากธุรกิจสามารถมีได้หลายรูปแบบ ได้แก่
    o การขายสินทรัพย์ (Asset Sale)
    o ค่าใช้งาน (Usage Fee)
    o ค่าสมาชิก (Subscription Fee)
    o การให้ยืม การเช่า และการเช่าซื้อ (Lending/Renting/Leasing)
    o การให้สิทธิ์ (Licensing)
    o ค่านายหน้า (Brokerage Fees)
    o การโฆษณา (Advertising)

6. Key Resources หมายถึงทรัพยากรหลักที่จำเป็นเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า การเข้าถึงลูกค้า รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า และการสร้างรายได้ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
    o กายภาพ (Physical)
    o ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual)
    o บุคคลกร (Human)
    o การเงิน (Financial)


7. Key Activities หมายถึงกิจกรรมหลักที่ธุรกิจดำเนินการเพื่อให้ได้มาหรือสนับสนุนให้เกิดรายได้ โดยทั่วไป ได้แก่
    o การผลิต (Production)
    o การแก้ปัญหา (Problem Solving)
    o การสร้างรูปแบบหรือเครือข่าย (Platform/Network)

8. Key Partnerships หมายถึงการทำธุรกิจร่วมกับคู่ค้า ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น พันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Alliances) พันธมิตรระหว่างคู่แข่ง (Coopetition) การร่วมทุน (Joint Venture) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ซื้อกับผู้ขาย เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้าอย่างสม่ำเสมอ (Buyer-supplier Relationships) การสร้างพันธ์มิตรทำให้เกิดประโยชน์กับกิจการ ดังนี้
    o การประหยัดจากขนาดการผลิต (Optimization and Economy of Scale)
    o การลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน (Reduction of Risk and Uncertainty)
    o การซื้อทรัพยากรหรือกิจกรรมเฉพาะ (Acquisition for Particular Resources and Activities)

9. Cost Structure หมายถึงการกำหนดการบริหารจัดการต้นทุนของกิจการ ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบ โดยทั่วไปแนวคิดการบริหารต้นทุนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ การมุ่งที่ต้นทุน (Cost-driven) ได้แก่รูปแบบของธุรกิจที่มุ่งเน้นในการลดต้นทุนในทุก ๆ ด้าน เพื่อสามารถทำให้จำหน่ายสินค้าหรือบริการได้ในราคาที่ต่ำ
ลักษณะของต้นทุนมีด้วยกันหลายประเภทได้แก่
    o ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs)
    o ต้นทุนแปรผัน (Variable Costs)
    o การประหยัดจากขนาดการผลิต (Economies of Scale)
    o การประหยัดจากขอบเขต (Economies of Scope)

 
My Opinion
       หน้งสือเล่มนี้มีการเรียบเรียงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ โดยมีการนำเสนอเนื้อหาเพื่อสร้างกรอบแนวคิด โดยมีตัวอย่างประกอบ จนไปถึงการระดมสมองคนในองค์กร เพื่อให้ได้รูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งนอกเหนือจากการนำเสนอแนวคิดแบบ 9 Buliding Blocks แล้ว ในหนังสือยังเสนอรูแบบอื่น ๆ อีก ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก ในความเห็นของผม หนังสือเล่มนี้ถึงแม้จะมีการนำเสนออย่างเป็นระบบ มีการนำเสนอทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง และเน้นในการนำไปใช้งานได้จริง แต่สิ่งที่นำเสนอผมกลับมองว่ายังไม่มีอะไรใหม่ ๆ เป็นเพียงนำปัจจัยต่าง ๆ มารวมกัน และการสร้างความเชื่อมโยงภายใน 9 Building Blocks ก็ยังไม่ชัดเจน ก็เลยให้ไปแค่ 3 ดาว ครับ
 
 
  
 
"Business Model Generation" reviewed by วุฒิ สุขเจริญ Contact Me:  bestofsiam@hotmail.com