Home         Book Reviews         Business Trips        Technical Visits        About Me
Wut Sookcharoen
Book Reviews by วุฒิ สุขเจริญ
 
Innovator's Dilemma วุฒิ สุขเจริญ Title: The Innovators' Dilemma
Author: Clayton M. Christensen
My Rating: Innovator's Dilemma วุฒิ สุขเจริญ
 
 

Summary
         The Innovators's Dilemma เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่โด่งดังมาก มีคนหยิบยกเอามาพูดกันเยอะทั้งฝรั่งทั้งคนไทย แต่เชื่อรึเปล่าครับว่าคนที่หยิบยกมาพูดส่วนใหญ่ไม่อ่านหนังสือเล่มนี้จริง ๆ บางครั้งมันฟังดูเพี้ยน ๆ
         หนังสือเล่มนี้เป็นผลมาจากการศึกษาเกี่ยวกับบริษัทที่เป็นผู้นำในธุรกิจ แต่แล้ววันหนึ่งที่เทคโนโลยีเปลี่ยน ทำให้จากผู้นำในธุรกิจ กลับกลายเป็นผู้ตามไม่ทันไปซ่ะอย่างงั้น
 
        หนังสือเล่มนี้พูดถึง Technology 2 ประเภทได้แก่ Sustaining Technologies เป็นเทคโนโลยีที่เน้นการพัฒนาให้สินค้ามีการทำงานที่ดีขึ้น เช่นถ้าเป็น Harddisk drive ก็พัฒนาให้มีความจุสูงขึ้น ถ้าเป็นรถยนต์ก็พัฒนาให้มันวิ่งได้เร็วขึ้น เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยีอีกประเภทหนึ่งเรียกกว่า Disruptive Technologies เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาสินค้าในอีกทิศทางหนึ่ง คือทำให้สินค้าถูกลง ใช้งานง่ายขึ้น ขนาดเล็กลง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น Online retailing, Mobile telephony, Digital photography เป็นต้น
    ประเด็นของหนังสือเล่มนี้คือ ผู้นำในอุตสาหกรรมจะพัฒนาสินค้าของตนตามเส้นทางของ Sustaining Technology ในขณะที่บางบริษัทกลับพัฒนาสินค้าโดยมุ่งไปที่ Disruptive Technology ซึ่งในช่วงแรก ๆ ลูกค้าจะยังไม่มีความต้องการสินค้าที่เป็น Disruptive Technology แต่เมื่อเวลาผ่านไป สินค้าจาก Disruptive Technology จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่าสินค้าที่มาจาก Sustaining Technologies เนื่องจากว่ามันถูกพัฒนาขึ้นเกินความต้องการของลูกค้า และเมื่อบริษัทที่เป็นผู้นำด้าน Sustaining Technologies จะหันมาพัฒนาสินค้าที่เป็น Disruptive Technology มันก็สายไปเสียแล้ว (ดูภาพประกอบด้านล่างจะเข้าใจยิ่งขึ้น)



Innovator's Dilemma วุฒิ สุขเจริญ


   หนังสือเล่มนี้ได้อธิบายว่าทำไมบริษัทใหญ่ ๆ ที่เป็นผู้นำจึงพลาดในเกมการแข่งขันนี้ โดยอธิบายไว้ด้วยเหตุผล 4 ประการ

    1. บริษัทที่เป็นผู้นำจะทำอะไรก็ต้องขึ้นกับลูกค้าและผู้ลงทุน เนื่องจากสินค้าที่เป็น Sustaining Technology เป็นสินค้าที่อยู่ในกระแสปัจจุบัน ซึ่งมีลูกค้าอยู่แล้ว ดังนั้นบริษัทจึงมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยพัฒนาสินค้าไปในทิศทางที่ลูกค้าต้องการ (พัฒนาสินค้าให้ทำงานได้ดีขึ้น) และต้องตอบสนองความต้องการของนักลงทุน เพราะเมื่อมีการพัฒนาให้มีการใช้งานดีขึ้น ก็จะทำให้ขายได้ราคาดีขึ้น กำไรมากขึ้น
     2. ตลาดของ Disruptive Technology มักเริ่มต้นที่ตลาดขนาดเล็ก ซึ่งตลาดเหล่านี้ไม่สามารถตอบโจทย์การเติบโตของบริษัทใหญ่ ๆ ทำให้บริษัทใหญ่ ๆ มองข้ามไป
     3. ตลาดของ Disruptive Technology มักเริ่มต้นที่ตลาดใหม่ ด้วยลักษณะของตลาดใหม่ ทำให้บริษัทใหญ่ ๆ ไม่สามารถทำการวิเคราะห์ตลาดได้ เนื่องจากมันเกิดขึ้นมาใหม่ บริษัทใหญ่ ๆ จึงไม่เข้าไปลงทุน เพราะมีความเสี่ยง
    4. ความเชี่ยวชาญเดิมที่มีอยู่ทำให้ระบุว่าบริษัทควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไร เนื่องจากบริษัทที่พัฒนาสินค้าแบบ Sustaining Technology จะมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ส่วนที่เป็น Disruptive Technology บริษัทมักไม่เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงเลือกที่จะพัฒนาสินค้าไปในทิศทาง Sustaining Technology  มากกว่า Disruptive Technology
   5. ความสอดคล้องของ Technology กับความต้องการของตลาด สินค้าที่เป็น Disruptive Technology เกิดขึ้นในตลาดเล็ก ๆ ซึ่งสินค้า Sustaining Technology ไม่สามารถตอบสนองได้ เพราะมันเป็นตลาดเล็ก ๆ แต่เมื่อสินค้าผ่านการพัฒนาไปช่วงเวลาหนึ่ง กลับกลายเป็นว่าสินค้า Sustaining Technology เกินความจำเป็น แต่สินค้าที่เป็น Disruptive Technology กลับตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากกว่า

 
My Opinion
       หนังสือเล่มนี้จัดได้ว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านเล่มหนึ่ง ข้อดีก็คือมีการระบุสาเหตุที่ทำให้บริษัทใหญ่ ๆ ไม่สามารถตามทัน Disruptive Technology ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจเนื่องจากว่าส่วนใหญ่แล้ว สินค้าที่เป็น Disruptive Technology กลับเกิดขึ้นครั้งแรกในบริษัทที่ผลิตสินค้า Sustaining Technology แต่ที่ไม่ถูกนำมาพัฒนาต่อก็เพราะมันไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน และไม่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ ดังนั้น Project เหล่านี้จึงถูกขึ้นหิ้ง แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป สินค้า Disruptive Technology กลับได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ในขณะที่สินค้า Sustaining Technology กลับเกินความต้องการ บริษัทที่ผลิตสินค้า Sustaining Technology ก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทันแล้ว
     ข้อดีที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้คือ ไม่ได้บอกว่าสาเหตุของการล้มเหลวคืออะไร แต่บอกวิธีแก้ไว้ด้วย เช่น วิธีการประเมินว่าเทคโนโลยีมันเป็น Disruptive Technology หรือเปล่า และได้แนะนำวิธีที่บริษัทที่ผลิตสินค้า Sustaining Technology จะปรับตัวเองเพื่อเผชิญกับ Disruptive Technology
     ข้อเสียที่มองเห็นจากหนังสือเล่มนี้คือ ตัวอย่างที่ให้มันจำกัดเพียงแค่อุตสาหกรรมไม่กี่ประเภท เช่น Harddisk Drive, รถตักดิน Hydraulic, รถยนต์ใช้ไฟฟ้า, ร้านค้าปลีก เป็นต้น ทำให้แนวทางในการไปประยุกต์ใช้ในบริษัทที่ไม่ได้เป็นผู้นำในอุตสากรรมนั้น อาจไม่ชัดเจน
    เมื่อพิจารณาจากภาพรวมของหนังสือเล่มนี้ ผมให้ 4 ดาวครับ
 
 
  
 
"The Innovator's Dilemma" reviewed by วุฒิ สุขเจริญ Contact Me:  bestofsiam@hotmail.com