Home         Book Reviews         Business Trips        Technical Visits        About Me
Wut Sookcharoen
Book Reviews by วุฒิ สุขเจริญ
 
OKRs The Series
  วุฒิ สุขเจริญ วุฒิ สุขเจริญ วุฒิ สุขเจริญ  
 
     มีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีการพูดเรื่องเครื่องมือบริหารจัดการที่เรียกว่า OKRs (Objectives and Key Results) เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานของ Google จริงๆ แล้ว Google ไม่ใช่บริษัทแรกที่นำ OKRs มาใช้ แต่ Andy Drove แห่ง Intel คือบริษัทแรกที่นำ OKRs ใช้ในปี 1974 จึงได้ชื่อว่าบิดาแห่ง OKR ซึ่งในตอนนั้นเป็นการดัดแปลงมาจากเครื่องมือการบริหารจัดการที่เรียกว่า MBO (Manangement by Objective) เรียกกว่า iMBO (intel iMBOs) โดยทำให้ MBO มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
 
วุฒิ สุขเจริญ
 
วุฒิ สุขเจริญ
 
  เนื่องจาก OKRs เป็นแนวคิดหรือเครื่องมือที่มีการพัฒนามากจาก MBO ทำให้มีหนังสือที่เขียนเรื่อง OKRs ออกมาหลายเล่ม เนื่องจากไม่มีใครที่เป็นเจ้าของเครื่องมือนี้อย่างแท้จริง ดังนั้นการรีวิวหนังสือของผมในครั้งนี้ ก็จะแตกต่างจากทุก ๆ ครั้ง คือเป็นอธิบายหลัการของ OKRs และนำหนังสือที่เขียนเรื่อง OKRs 3 เล่ม มาให้คะแนน ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องนี้ว่าควรอ่านหนังสือเล่มไหน
 
      สำหรับเนื้อหาด้านหลักการของ OKRs ในหนังสือแต่ละเล่ม ไม่แตกต่างกันมาก การเล่าเรื่อง OKRs ของผม จึงหยิบมาจากหนังสือทั้ง 3 เล่ม ในภาพรวมหลักการของ OKR เป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์กรสามารถนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติได้ (Execution) และทำให้องค์กรมีการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน (Alignment) เป็นเครื่องมือที่มีการพัฒนามาจาก MBO ที่ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และสามารถติดตามผลได้เร็วขึ้น และมุ่งเน้นการสื่อสารในหลายทิศทาง ไม่ใช่จากบนลงล่างเพียงอย่างเดียว แสดงความแตกต่างตามภาพด้านล่าง
 
     หลักการของ OKR ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
     Objective (วัตถุประสงค์) คือ สิ่งที่เราต้องการจะประสบความสำเร็จ เป็นเป้าหมายกว้าง ๆ หนังสือบางเล่มระบุว่าเป็นเชิงคุณภาพ (Qualitative) หรือพูดง่าย  ๆ คือไม่ต้องมีตัวเลข โดยมีช่วงเวลากำกับ ที่สำคัญคือควรสร้างแรงบันดาลใจที่อยากทำให้สำเร็จ
     Key Results (ผลลัพธ์หลัก) คือ ผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้ ที่ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น โดยมีเวลากำกับ

     โดยการทำ OKR จะมีการทำในทุกระดับชั้นขององค์กร (แสดงดังภาพ)
 
วุฒิ สุขเจริญ
 
       การนำ OKRs ไปใช้งานขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กร ดังนั้นการนำไปใช้จึงมีหลายระดับแล้วแต่ความพร้อมขององค์กร เช่น  ระดับบนหรือระดับบริษัท (Company and Business Unit or Team) การใช้ทั้งองค์กร (Entire Organization) การใช้เป็นแบบทดลองเฉพาะทีม (Pilot at a Business Unit or Team) และการใช้เฉพาะบางโครงการ (Projects)
        ก่อนนำ OKRs ไปใช้ องค์กรควรถามตัวเองก่อนว่า  องค์กรมีปัญหาอะไรถึงจำเป็นต้องนำเอา OKRs มาใช้ และทำไมต้องเป็น OKRs ดังนั้นการนำ OKRs ไปใช้ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็เอาไปใช้เลย แต่ต้องมีการวางแผน โดย
◾ ผู้บริหารต้องพร้อมที่จะสนับสนุน OKRs (Secure executive sponsorship for OKRs.)
◾ ต้องตั้งคำถามถึงความจำเป็นในการนำเอา OKRs มาใช้ (Answer the question, “Why OKRs, and why now?”)
◾ จะเริ่มต้นนำมาใช้ในระดับใด (Determine where you’ll begin with OKRs (corporate-level only, pilot, etc.)
◾ วางแผนในการนำเอามาใช้ เช่น การให้ความรู้ (Create an implementation plan)
 
        ในการติดตามผลของการใช้ OKRs นิยมกำหนดให้แต่ละ Key Result ต้องมีระยะเวลากำกับ และมีการติดตามผลโดยการให้คะแนนความก้าวหน้า เช่น  
     0.7 to 1.0 = green (ทำสำเร็จ)
     0.4 to 0.6 = yellow (มีความคืบหน้า แต่ยังไม่สำเร็๗)
     0.0 to 0.3 = red (ไม่คืบหน้า)
วุฒิ สุขเจริญ
 
    นอกจากนั้นการใช้ OKRs จะเป็นกิจกรรมที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีกระบวนการที่เรียกว่า CFRs (Continuous Performance Management) ซึ่งประกอบด้วย
     การพูดคุย (Conversations) ด้วยความจริงใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในทีมงานและระหว่างทีมงาน
     การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) เป็นสื่อสารการประเมินระหว่างผู้ร่วมงานเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น
     การยอมรับ (Recognition) เป็นการแสดงออกถึงความเต็มใจยอมรับซึ่งกันและกัน
 
     เนื้อหาของ OKRs ในหนังสือทั้ง 3 เล่ม ก็มีคล้ายคลึงกัน อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง
      คราวนี้ก็มาถึงการประเมินหนังสือทั้ง 3 เล่ม ในความเห็นของผม OKRs ไม่ได้เป็นอะไรที่ใหม่ ก็อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่แรกว่าเป็นการปรับปรุงมาจาก MBOs คะแนนสูงสุดที่ผมให้ได้ก็คงเป็นแค่ 2 ดาว
 
วุฒิ สุขเจริญ Tiltle: Measure What Matters
Author: John Doerr
My Rating: วุฒิ สุขเจริญ
My Opinion
    การนำเสนอเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ก็เป็นการเล่าความเป็นมาของ OKRs และการอธิบายความหมายและการนำไปใช้ วิธีการนำเสนอเนื้อหาใช้วิธีผ่านเรื่องเล่าในเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจการใช้งานและความเป็นมา  อย่างไรก็ดีผมว่าการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะนี้ไม่ค่อยกระชับ ทำให้เสียเวลามาก และไม่ค่อยเป็นขั้นเป็นตอน ผมจึงให้คะแนนอยู่ในระดับแค่ 1 ดาว (เป็นความเห็นส่วนตัวครับ)
วุฒิ สุขเจริญ Tiltle: Objectives and Key Results
Authors: Paul R. Niven and Ben Lamorte
My Rating: วุฒิ สุขเจริญ
My Opinion
    เนื้อหาก็เป็นการปูพื้นฐานความเป็นมาและหลักการของ OKRs แต่ข้อดีของหนังสือเล่มนี้คือ
การนำเสนอเป็นขั้นเป็นตอน ไม่เยิ่นเย้อ ในบรรดาหนังสือทั้่ง 3 เล่ม หากจะเลือกอ่านเล่มเดียว ผมคงแนะนำเป็นเล่มนี้
 
วุฒิ สุขเจริญ Tiltle: OKR From Mission to Metrics
Author: Francisco S. H. Mello
My Rating: วุฒิ สุขเจริญ
My Opinion
        หนังสือเล่มนี้มีลักษณะการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่แตกต่างจาก 2 เล่มบน แต่มีการอธิบายคำศัพท์ที่ละเอียดกว่า (ซึ่งไม่จำเป็น) การนำเสนออยู่ระหว่างกลางของเล่มแรกและเล่มที่ 2 ดังนั้นถ้าจะอ่านเพิ่มเติมเป็นเล่มที่ 2 ผมแนะนำเป็นเล่มนี้ครับ
 
  
 
"OKRs" reviewed by วุฒิ สุขเจริญ Contact Me:  bestofsiam@hotmail.com