Home         Book Reviews         Business Trips        Technical Visits        About Me
Wut Sookcharoen
Book Reviews by  วุฒิ สุขเจริญ
 
วุฒิ สุขเจริญ Title: On Dialogue
Author: David Bohm
My Rating: วุฒิ สุขเจริญ
 
 

ความเป็นมา

วุฒิ สุขเจริญ
หนังสือ The fifth discipline ของ Peter Senge นับเป็นหนังสือที่เป็น Key book เล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยหนังสือ 2 เล่ม เล่มหน้าปกสีดำเป็นแนวคิด ส่วนหน้าปกสีแดงเป็นแนวปฏิบัติ ในหนังสือเล่มนี้ให้แนวทางการทำ Team Learning เพื่อให้ทีมสามารถเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้การสนทนาที่เรียกว่า productive conversation โดยระบุว่ารูปแบบการสนทนามี 2 แบบ คือ Skillful discussion และ Dialogue
โดย SKillful discussion หรือ productive discussion ถูกนำเสนอโดย Rick Ross (เป็นที่ปรึกษธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ) ส่วน Dialogue ถูกนำเสนอในหนังสือ On Dialogue ของ David Bohm
เมื่อผมสืบค้นพบว่า David Bohm เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา Quantum Theory โด่งดังในยุคเดียวกับ Albert Einstein ผมจึงเกิดความสนใจหนังสือ On dialogue มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเขียนโดยนักฟิสิกส์ ซึ่งทำให้ผมประหลาดใจมาก และได้ไปหาหนังสือเล่มนี้มาครอบครอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นผมอ่านได้ไม่เกิน 1 หน้า ก็ต้องยอมแพ้ เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจเลย พยายามอยู่หลายรอบจนท้อ และเลิกอ่านไปในที่สุด
 
วุฒิ สุขเจริญ จนในวันหนึ่งผมบังเอิญไปพบหนังสือแแปล ซึ่งแปลโดย คุณเพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข ซึ่งผมเองก็ไม่รู้จัก แต่มาสะดุดตรงบรรณาธิการที่เป็นคุณพจนา จันทรสันติ ซึ่งท่านนี้ผมได้ติดตามผลงานการแปลหนังสือของท่านกฤษณมูรติมาโดยตลอด ทำให้ผมรู้สึกได้ว่าหนังสือ On Dialogue ของ David Bohm เล่มนี้คงไม่ใช้หนังสือธรรมดาที่ใครจะอ่านก็ได้
 
เมื่อได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงได้รู้ว่า David Bohm ได้รับอิทธิพลแนวคิดเรื่อง “สุนทรียสนทนา” (Dialogue) มาจากท่านกฤษณมูรติและองค์ทะไลลามะ ก็เลยไปค้นต่อด้านความสัมพันธ์ระหว่าง David Bohm กับท่านกฤษณมูรติ โดยทั้งสองคนมีการสนทนาแลกเปลี่ยนวิธีคิดกันโดยตลอด
วุฒิ สุขเจริญ
(ในภาพ : คนซ้ายมือคือกฤษณมูรติ คนขวามือคือ David Bohm)
 
วุฒิ สุขเจริญ ผมชอบแนวคิดของท่านกฤษณมูรติตั้งแต่สมัยเป็นวัยรุ่น อ่านหนังสือของท่านมามากกว่า 20 เล่ม หนังสือของท่านกฤษณมูรติ ล้วนแต่เป็นหนังสือเชิงปรัชญา ถ้าใครชอบแนวนี้ก็จะชอบแบบคลั่งไคล้ ใครไม่ชอบก็จะอ่านไม่รู้เรื่องเลย การอ่านจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจได้ และนี่คือเหตุผลที่ผมไม่สามารถอ่านหนังสือ On dialogue ฉบับภาษาอังกฤษได้สำเร็จ
 
ที่เล่ามาทั้งหมดก็เพื่อจะบอกว่า การสรุปหนังสือเล่มนี้ผมใช้วิธีอ่านควบคู่หนังสือฉบับภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ซึ่งพอทำให้พอเข้าใจเนื้อหาได้บ้าง เน้นนะครับว่าเข้าใจได้บ้าง
 
Summary
ผมขอสรุปสั้น ๆ ตามหัวข้อดังนี้ครับ
บทที่ 1. ว่าด้วยการสื่อสาร: สรุปใจความสำคัญได้ว่า เทคโนโลยียุคใหม่ ล้วนช่วยกันถักทอเครือข่ายของการสื่อสารที่ทำให้ทุกส่วนของโลก สามารถเชื่อมต่อกันได้ในทันทีทันใด แต่ในด้านการสื่อสารกลับมีความรู้สึกว่า การสื่อสารได้พังทลายลงในทุกหนแห่งอย่างที่เราไม่เคยพบมาก่อน เรามีปัญหด้านการสื่อสารอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น “วัยที่แตกต่างกัน” “ครอบครัว” “ครู-นักเรียน” ทั้งนี้เนื่องจาก คนจะได้ยินสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งพูดผ่านตัวกรองทางความคิดของตน
 
บทที่ 2 ว่าด้วยสุนทรียสนทนา (Dialogue) บทนี้อธิบายความหมายของ Diaglogue โดยระบุว่า Dialogue มาจากภาษากรีกคือคำว่า “Dialogos” Logos = ถ้อยคำ หรือความหมายของถ้อยคำ, Dia = ผ่าน Dialogue คือการให้ความหมายของถ้อยคำ ไหลผ่านอยู่ท่ามกลางกลุ่ม (หรือไหลผ่านในตัวเราเอง) ซึ่งแตกต่างจากคำว่า Discussion ที่เหมือนกับการเล่นปิงปอง คือการเอาความหมายหรือความคิดมาตีกลับไปกลับมา โดยมีเป้าหมายเพื่อเอาชนะ (อาจพยายามหาความคิดหรือสิ่งสนับสนุน เพื่อให้ได้ชัยชนะ)
Dialogue ทุกคนชนะ ถ้าใครคนใดคนหนึ่งชนะ “Everybody wins if anybody wins” ข้อเท็จจริงคือ ทุกคนมีสมมติฐาน (Assumptions) หรือความเห็น (Opinions) ที่แตกต่างกัน
เรามักปกป้องสมมติฐานหรือความเห็นของเรา “ความคิดนี่แหละคือตัวปัญหา”
Dialogue จะต้องเข้าไปอยู่ในกระบวนการทางความคิดซึ่งอยู่เบื้องหลังสมมติฐานเหล่านั้น
 
บทที่ 3. ธรรมชาติของความคิดร่วม บทนี้อธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่า การคิด (Thinking) และความคิด (Thought) โดยระบุว่าการคิดมีลักษณะเป็นปัจจุบัน แต่ความคิดเป็นอดีต เมื่อเราคิดเสร็จแล้ว มันไม่ได้หายไปไหน แต่จะถูกเก็บในรูปแบบของความคิด สมองส่วนที่คิดและส่วนอารมณ์ความรู้สึกอยู่ในบริเวณเดียวกัน
มันจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ความคิดจึงทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก และความรู้สึกก็สามารถไปรบกวนการคิดอย่างมีเหตุผล การคิดแบบมีเหตุผลจึงเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อสมองสงบนิ่งเท่านั้น ความคิดสามารถสร้างมโนทัศน์ (Representation)
เมื่อมีคนบอกว่าคนไม่ดีเป็นอย่างไร เราก็จะเกิดมโนทัศน์ และเมื่อเราพูดเกี่ยวกับคนไม่ดี
เราจึงเป็นการนำเสนอสิ่งที่ถูกสร้างไว้แล้ว (Re-Present) ยิ่งเป็นความคิดร่วม ความคิดนั้นยิ่งมีพลังมากขึ้น
 
หนังสือเล่มนี้มี 7 บท แต่เนื้อหา 3 บท มีจำนวนหน้าประมาณ 3 ใน 4 ของหนังสือ ดังนั้นบทที่ 4-7 จึงมีเนื้อหาค่อนข้างน้อย
 
บทที่ 4 ปัญหาและปฏิทรรศน์ ในบทนี้เนื้อหาระว่าปัญหาบางประเภทก็ยากเกินกว่าสติปัญญาทั่วไปจะสามารถแก้ไขได้ สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือปฏิทรรศน์ (paradox) คือความขัดกันในตนเอง เช่น ทุกคนรู้ว่าเราการสื่อสารอย่างอิสระจะเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันเราก็ไม่อยากรับฟังสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย
 
บทที่ 5 ผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกต ในบทนี้มีแค่ 4 หน้า สรุปได้ว่า สมมติฐานของเราทำหน้าที่ดุจเป็นผู้สังเกต เราจึงมองสิ่งต่าง ๆ และสรุปผ่านสมมติฐานที่เรามีอยู่ กฤษณมูรติกล่าวว่า "ผู้สังเกตคือสิ่งที่ถูกสังเกต" (.... งงมั้ยล่ะ)
 
บทที่ 6 การระงับยับยั้ง ร่างกาย และการตระหนักรู้ในตนเอง เนื้อหาต่อเนื่องจากบทที่ 5 คือ ถ้าเราอยากเป็นอิสระอย่างแท้จริง เราสามารถยับยั้งความคิดและการกระทำ โดยไม่จำเป็นต้องเก็บกดมันไว้ โดยเราต้องมีความตระหนักรู้ในตนเองในทุกขณะ
 
บทที่ 7 ความคิดแบบมีส่วนร่วมและความไร้ขอบเขต ในบทนี้ผู้เขียนระบุว่า ความคิดแบบมีส่วนร่วมเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมยุคเริ่มและของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ทำให้คนเรา เกิดมีความมมีส่วนร่วม เช่น นี่ประเทศของฉัน นี่คือสังคมของฉัน และการพัฒนาให้เรามีอิสระ เราต้องมีภาวะที่ว่างเปล่าอันไร้ขอบเขต
 
My Opinion
       ถ้าให้คะแนนหนังสือของท่านกฤษณมูรติ ผมสามารถให้ 5 ดาว ทุกเล่ม ทั้งเล่มที่ผมอ่านแล้วและเล่มที่ผมยังไม่เคยอ่าน อาจกล่าวได้ว่าผมมีความลำเอียงเป็นพิเศษ แต่หากใครลองอ่านหนังสือของท่านกฤษณมูรติ แล้วรู้สึกถูกจริต ผมว่าก็คงให้ 5 ดาว ทุกเล่มเหมือนผม แต่ใครอ่านแล้วไม่ชอบก็คงให้แค่ 1 ดาว
      แต่สำหรับหนังสือ On dialogue ของ David Bohm เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดเนื้อหาแนวเดียวกับท่านกฤษณมูรติ แต่ในความเห็นของผมสิ่งที่นำเสนอ ยังห่างไกลจากท่านกฤษณมูรติเป็นอย่างมาก ดังนั้นเล่มนี้ผมให้เพียง 1 ดาวครับ
 
 
  
 
Reviewed by วุฒิ สุขเจริญ Contact Me:  bestofsiam@hotmail.com